- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 17-23 ตุลาคม 2565
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ๋ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,171 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,045 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.90
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,121 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,030 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 32,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,710 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,750 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 873 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,111 บาท/ตัน) ราคาทรงตัว
ที่ตันละ 873 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,958 บาท/ตัน) เท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 153 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 429 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,271 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 429 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,196 บาท/ตัน) เท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 75 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 432 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,385 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 432 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,309 บาท/ตัน) เท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 76 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 37.9274 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2565/66 ณ เดือนตุลาคม 2565 ผลผลิต 505.042 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 515.310 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2564/65 หรือลดลงร้อยละ 1.99
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2565/66 ณ เดือน ตุลาคม 2565
มีปริมาณผลผลิต 505.042 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 1.99 การใช้ในประเทศ 518.087 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 0.22 การส่งออก/นำเข้า 53.400 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 2.31 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 171.200 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 7.08
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย เมียนมา กายานา ปารากวัย ไทย อุรุกวัย และเวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล กัมพูชา จีน อียู อินเดีย ปากีสถาน และตุรกี
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไอเวอรี่โคสต์ อียู กานา เม็กซิโก โมซัมบิก เนปาล แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่
จีน อิรัก มาลี ฟิลิปปินส์ เซเนกัล และเวียดนาม
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย ไนจีเรีย และฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศที่มี
สต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน อินเดีย ไทย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย: สถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ไร่นา ขณะนี้ส่วนใหญ่ยังประเมินไม่ได้ว่าข้าวที่จมอยู่จะเสียหายมากน้อยเพียงใด ต้องรอกระบวนการอีกมาก ทั้งรอให้น้ำลด ลุ้นว่าพายุลูกใหม่จะมาซ้ำเติมอีกหรือไม่ ไปจนถึงการตรวจสอบคุณภาพข้าว คุณภาพในการเก็บรักษา เพื่อจำหน่ายในประเทศหรือส่งออก
ก่อนหน้านี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดคะเนไว้คร่าวๆ ว่ามูลค่าความเสียหายของข้าวนาปี จากผลกระทบของน้ำท่วมช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2565 น่าจะอยู่ที่ประมาณ 2,900-3,100 ล้านบาท
กรมการข้าว และกรมส่งเสริมการเกษตร ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ประสานงานกันช่วยเหลือเยียวยาชาวนา ยึดตามหลักเกณฑ์ปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ปี 2564
เช่น ชาวนาที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยพิบัติได้รับความเสียหายอย่างสิ้นเชิง จะได้รับความช่วยเหลือไร่ละ 1,340 บาท รายละไม่เกิน 30 ไร่ นอกจากนี้ ยังมีความช่วยเหลือชาวนาด้านเมล็ดพันธุ์ข้าว สนับสนุนรายละไม่เกิน 10 ไร่ ไร่ละ 7-15 กิโลกรัม พร้อมกับที่หน่วยราชการจะประสานความร่วมมือกับเกษตรท้องถิ่นลงพื้นที่ให้คำแนะนำพี่น้องชาวนา เช่น พื้นที่ที่มีปัญหาน้ำท่วมฉับพลันหรือท่วมซ้ำซากอยู่เป็นประจำ ควรใช้พันธุ์ข้าวชนิดใด
สำหรับความคืบหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2565/66 เมื่อ ครม.มีมติเห็นชอบ เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว 4.68 ล้านครัวเรือน จะได้รับเงินโอนตรงเข้าบัญชีไร่ละ 1,000 บาท พร้อมทั้งมีมาตรการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก โดยเกษตรกรจะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวในอัตราตันละ 1,500 บาท ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
ทั้งนี้ ฝ่ายค้านเสนอว่าโครงการประกันรายได้เกษตรกร หากไม่มีการปรับหลักเกณท์ราคากลางตามต้นทุน
ที่สูงขึ้น เกษตรกรที่นำข้าวไปเข้าร่วมโครงการจะไม่มีทางได้ตามราคาที่รัฐบาลประกันไว้ เพราะจะถูกหักความชื้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ดังนั้นเกษตรกรจึงขายได้ราคาที่ต่ำกว่ามาก
นอกจากนี้ ยังมีโจทย์เดิมที่ตัวแทนชาวนาและนักวิชาการชี้ให้เห็นถึงจุดที่ข้าวไทยต้องเร่งพัฒนาคุณภาพการผลิตเพื่อให้แข่งขันได้ในตลาดโลก จากที่เคยส่งออกได้ 11 ล้านตัน ปีนี้เป้าหมายอยู่ที่ 7.5 ล้านตัน ยิ่งเมื่อมีน้ำท่วมมากๆ
ทำให้น่าหวั่นใจว่าผลผลิตจะได้ตามเป้าหมายและมีคุณภาพหรือไม่
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
อินโดนีเซีย
สำนักข่าว Reuters รายงานโดยอ้างถึงข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (Statistics Indonesia (BPS)) ว่า
ในปี 2565 คาดว่าอินโดนีเซียจะมีผลผลิตข้าวเปลือก (unhusked rice) ประมาณ 55.67 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.31 เมื่อเทียบกับจำนวน 54.42 ล้านตัน ในปีที่ผ่านมา
โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-กันยายน 2565) อินโดนีเซียมีผลผลิตข้าวเปลือก (unhusked rice) ประมาณ 45.43 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 0.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่คาดว่าในช่วงไตรมาส สุดท้ายของปี (ตุลาคม-ธันวาคม 2565) ผลผลิตข้าวจะมีมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีประมาณ 10.24 ล้านตัน ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียตั้งเป้าหมายการผลิตข้าวเปลือกในปี 2565 ไว้ที่ 54.89 ล้านตัน
ขณะที่สำนักข่าว ANTARA รายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ (BPS) พยากรณ์ว่า ในปี 2565 อินโดนีเซีย
จะมีผลผลิตข้าวสารประมาณ 32.07 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.29 เมื่อเทียบกับจำนวน 31.36 ล้าน ตัน ในปี 2564 โดยคาดว่าในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้ (ตุลาคม-ธันวาคม 2565) จะมีผลผลิตข้าวสารประมาณ 5.90 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15.12 เมื่อเทียบกับจำนวน 5.13 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ปากีสถาน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์การผลิตข้าวของปากีสถานในปีการตลาด 2565/66 จะอยู่ที่ ประมาณ 7.4 ล้านตันข้าวสาร ลดลงประมาณ 1.0 ล้านตันข้าวสาร หรือประมาณร้อยละ 12 จากที่คาดการณ์เมื่อกันยายน 2565 และลดลงประมาณ 1.7 ล้านตันข้าวสาร หรือประมาณร้อยละ 19 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผลผลิตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยคาดว่าจะมีพื้นที่เก็บเกี่ยวประมาณ 18.75 ล้านไร่ ลดลงประมาณ 1.25 ล้านไร่ หรือลดลงประมาณร้อยละ 6 จากที่คาดการณ์เมื่อเดือนกันยายน 2565 โดยผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่จะอยู่ที่ประมาณ 592 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงประมาณร้อยละ 6 จากที่คาดการณ์เมื่อเดือนกันยายน 2565 สาเหตุที่มีการประเมินพื้นที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2565 ปากีสถานเผชิญกับภาวะน้ำท่วมครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยพื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 ของปากีสถานต้องจมอยู่ใต้น้ำและทำให้พื้นที่การผลิตข้าวทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นสินธุ (Sindh) และพื้นที่บางส่วนในแคว้นปัญจาบ (Punjab) ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ซึ่งจากการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้ในปีการตลาด (MY) 2565/66 คาดว่าพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวจะลดลงประมาณร้อยละ 6 จากคาดการณ์เมื่อเดือนกันยายน ลงมาเหลือประมาณ 18.75 ล้านไร่ ซึ่งหากน้ำท่วมลดลงอย่างรวดเร็ว อาจจะทำให้การผลิตข้าว
ในพื้นที่เหล่านี้บางส่วนสามารถฟื้นตัวได้
ทั้งนี้ ปากีสถานถือเป็นผู้ผลิตและส่งออกข้าวบาสมาติและข้าวขาวสายพันธุ์ IRRI (ข้าวเมล็ดยาวสีขาว)
ซึ่งข้าวถือเป็นธัญพืชอันดับ 2 ในหมู่พืชอาหารหลักในปากีสถาน และยังเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่สร้างรายได้หลักจาก
การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยปากีสถานมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่สำคัญใน 2 แคว้น ที่เป็นแหล่งผลิตข้าวหลัก ได้แก่ แคว้นปัญจาบ และสินธุ (Punjab and Sindh) ซึ่งทั้ง 2 แคว้น มีสัดส่วนเกือบร้อยละ 90 ของผลผลิตข้าวทั้งหมด และแคว้นปัญจาบยังมีสภาพอากาศและสภาพดินทางการเกษตรที่เหมาะสม จนสามารถผลิตข้าวบาสมาติได้เพียงแห่งเดียวของประเทศ
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อิหร่าน
สำนักงานศุลกากรอิหร่าน (the Iranian customs office; IRICA) เปิดเผยสถิติยอดนําเข้าข้าวของอิหร่าน
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 ระบุว่า ในช่วง 5 เดือนของปีงบประมาณ (เมษายน-สิงหาคม) นับจนถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ยอดนําเข้าข้าวของอิหร่านมีมูลค่าสูงถึง 1,096 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์และเทียบเท่ากับการนําเข้าข้าวทั้งหมดของอิหร่านในปีก่อนหน้า หลังจากรัฐบาลอิหร่านยกเลิกการห้ามนําเข้าข้าวตามฤดูกาล (seasonal ban on rice imports) ซึ่งปกติจะตรงกับช่วงเก็บเกี่ยวข้าวในอิหร่านในช่วงฤดูร้อน โดยเป็นการนําเข้าข้าวจากอินเดียมูลค่า 583.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปากีสถาน 350.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนําเข้าข้าวจากประเทศไทยมูลค่าประมาณ 79.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่เป็นอันดับสามไปยังอิหร่าน
แหล่งข่าวจากสมาคมค้าปลีกอาหารของอิหร่าน ระบุว่า ความต้องการข้าวปากีสถานในตลาดอิหร่านเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นเพราะความสามารถในการส่งออกได้ และความจริงที่ว่าข้าวเหล่านี้สามารถเทียบได้กับข้าวของอิหร่านมากกว่า อย่างไรก็ตาม ความต้องการข้าวอินเดียยังคงมีมากในอิหร่านในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากข้าวอินเดียยังคงมีราคาถูกที่สุดในตลาด
รายงานที่อ้างถึงตัวเลขของ IRICA ระบุว่า ในช่วงเวลาเดียวกัน การนําเข้าข้าวจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซึ่งเป็นศูนย์กลางการส่งออกต่อ (the re-exporting hub) ในอ่าวเปอร์เซียมายังอิหร่าน มีมูลค่าถึง 60.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยการนําเข้าข้าวผ่านเขตเศรษฐกิจเสรีของอิหร่าน (Iranian free economic zones) มีมูลค่าประมาณ 21.63
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.56 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.27 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.13 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.68 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.64 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.52
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 327.80 ดอลลาร์สหรัฐ (12,433.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 328.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,383.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06 แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 50.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2565/66 มีปริมาณ 1,174.55 ล้านตัน ลดลงจาก 1,203.08 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 2.37 โดย จีน บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา และรัสเซีย มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลกมี 184.78 ล้านตัน ลดลงจาก 193.48 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 4.50 โดย บราซิล อาเจนติน่า และปารากวัย ส่งออกลดลง ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก เวียดนาม อิหร่าน แอลจีเรีย เปรู โมร็อกโก ไทย สาธารณารัฐโดมิกัน และสหรัฐอเมริกา มีการนำเข้าลดลง
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 682.00 เซนต์ (10,300.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 694.00 เซนต์ (10,434.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.73 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 134.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.127 ล้านไร่ ผลผลิต 34.948 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.451 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.922 ล้านไร่ ผลผลิต 34.007 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.427 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 ร้อยละ 2.77 และร้อยละ 0.70 ตามลำดับ โดยเดือนตุลาคม 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.47 ล้านตัน (ร้อยละ 4.20 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 20.60 ล้านตัน (ร้อยละ 58.95 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เกิดสถานการณ์น้ำท่วมหลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่เร่งเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังก่อนครบอายุ สำหรับบางพื้นที่ไม่สามารถเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังได้ ส่งผลให้หัวมันสำปะหลังเน่า หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่เข้าสู่โรงแป้งมันสำปะหลัง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.55 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.58 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.16
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.93 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.44
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.93 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.94 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 17.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.35
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 264 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,060 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากเฉลี่ยตันละ 267 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,070 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.12
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 484 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,450 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากเฉลี่ยตันละ 485 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,320 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.21
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.679 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.302 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.690 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.304 ล้านตันของเดือนกันยายน คิดเป็นร้อยละ 0.65 และร้อยละ 0.66 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.43 บาท เพิ่มขึ้นจาก กก.ละ 4.95 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 9.70
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 31.78 บาท เพิ่มขึ้นจาก กก.ละ 30.38 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.61
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มปรับตัวขึ้นหลังจากปริมาณน้ำฝนส่งผลกระทบให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลง ร่วมกับความต้องการของตลาดที่สูงขึ้น ราคาที่สูงขึ้นคาดว่าจะเพิ่มภาระให้กับผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ในปัจจุบันที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นจากสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน อย่างไรก็ตามราคาที่สูงขึ้นจะส่งผลดีต่อผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่อย่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย ที่จะช่วยลดปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มในประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,942.13 ริงกิตมาเลเซีย (32.30 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 3,543.61 ริงกิตมาเลเซีย (29.24 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 11.25
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,051 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40.31 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,001 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.21 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.00
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- เจ้าหน้าที่ราชการในอินเดียรายงานว่า ภายในสัปดาห์นี้ จะประกาศโควตาส่งออกน้ำตาลปี 2565/2566 ที่ 6 ล้านตัน อีกส่วนอาจจะสามารถประกาศได้ในเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ ขึ้นอยู่กับการผลิต ในขณะเดียวกัน สมาคมพ่อค้าน้ำตาลบอมเบย์ กล่าวว่า ความต้องการในรัฐมหาราษฏระยังมีมากจนถึงสุดสัปดาห์และช่วงเทศกาล Diwali
- หัวหน้าคณะรัฐมนตรีของรัฐมหาราษฏระในอินเดียส่งจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อขอให้อนุญาตส่งออกน้ำตาลระบบเปิดแทนระบบโควตาเพื่อลดระเบียบราชการลง ในขณะเดียวกัน แหล่งข่าวในท้องถิ่นรายงานว่า
ฝนที่ตกหนักในเดือนตุลาคม อาจจะทำให้การผลิตน้ำตาลต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 19.36 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 24.00 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 19.33
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,383.28 เซนต์ (19.49 บาท/กก.)ลดลงจากบุชเชลละ 1,385.08 เซนต์ (19.43 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.13
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 409.14 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.69 บาท/กก.)ลดลงจากตันละ 415.98 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 16.44
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 69.63 เซนต์ (58.85 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 69.45 เซนต์ (58.43 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.26
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 19.36 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 24.00 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 19.33
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,383.28 เซนต์ (19.49 บาท/กก.)ลดลงจากบุชเชลละ 1,385.08 เซนต์ (19.43 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.13
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 409.14 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.69 บาท/กก.)ลดลงจากตันละ 415.98 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 16.44
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 69.63 เซนต์ (58.85 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 69.45 เซนต์ (58.43 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.26
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 950.00 ดอลลาร์สหรัฐ (36.03 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 956.00 ดอลลาร์สหรัฐ (36.09 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 790.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 795.67 ดอลลาร์สหรัฐ (30.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,241.80 ดอลลาร์สหรัฐ (47.10 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,250.00 ดอลลาร์สหรัฐ (47.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 896.80 ดอลลาร์สหรัฐ (34.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 902.67 ดอลลาร์สหรัฐ (34.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,210.00 ดอลลาร์สหรัฐ (45.90 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,217.67 ดอลลาร์สหรัฐ (45.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.79 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.02 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.12 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.09
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 80.04 เซนต์(กิโลกรัมละ 67.67 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 85.99 เซนต์ (กิโลกรัมละ 72.36 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.92 (สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 4.69 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,897 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,778 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,468 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,345 บาทคิดเป็นร้อยละ 9.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 985 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 103.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 103.86 คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.26 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.50 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 107.45 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 100.92 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.00 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 102.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.35 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 61.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.28 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 346 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 329 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 326 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 357 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 352 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 388 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 386 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 399 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 366 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 423 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.55 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 99.46 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 100.49 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 92.28 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 79.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 81.73 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.16 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 76.71 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 103.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 103.86 คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.26 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.50 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 107.45 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 100.92 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.00 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 102.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.35 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 61.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.28 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 346 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 329 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 326 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 357 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 352 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 388 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 386 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 399 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 366 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 423 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.55 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 99.46 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 100.49 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 92.28 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 79.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 81.73 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.16 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 76.71 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 17 – 23 ตุลาคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.63 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 61.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.49 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.64 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 79.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.06 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 126.38 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 123.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.57 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 133.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 125.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.00 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.75 บาท บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคาสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 220.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.85 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 17 – 23 ตุลาคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.63 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 61.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.49 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.64 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 79.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.06 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 126.38 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 123.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.57 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 133.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 125.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.00 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.75 บาท บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคาสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 220.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.85 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท